วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัญหาสังคมไทย

ปัญหาสังคมไทย
ความหมายปัญหาสังคม

มีผู้รู้ให้ความหมายไว้มากมาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวไว้เพียงห้าความหมายพอเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป ท่านแรกคือ Goid Garry and Frand R. Scarpitti กล่าวว่าปัญหาสังคม คือ สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ประชาชนมองเห็นว่าสภาวะการณ์นั้นเป็นสิ่งไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเห็นว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการกระทำร่วมกัน
Horton และ Lrslie ให้ความหมายไว้ว่าปัญหาสังคมเป็นสภาวะการณ์ที่มีผลต่อคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและมีความรู้สึกว่าจะต้องร่วมกันแก้ไข
Raab และ Selznick เสนอสรุปได้ว่า ปัญหาสังคมคือปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคมในลักษณะที่ขัดต่อระเบียบของสังคม
Konig ให้ความหมายว่าปัญหาสังคมคือสถานการณ์ที่สังคมเห็นว่าเป็นการคุกคามวิถีทางที่ปฏิบัติอยู่หรือความสมบรูณ์ของงาน ด้วยเหตุนี้จึงควรจะกำจัดให้หมดสิ้นหรือให้เบาบางลง
ดร.ประสาท หลักศิลา อธิบายว่า ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเข้าใจกันหรือเชื่อกันว่าสถานการณ์เช่นนั้นเป็นอันตรายต่อคุณธรรมของปัญหาและต้องการหาทางแก้ไขสถานการณ์นั้นให้ดีขึ้นด้วยการร่วมมือทางสังคม
ลักษณะปัญหาสังคม จากความหมายข้างต้นนั้น พอสรุปลักษณะปัญหาสังคมได้ดังนี้
1.   เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจำนวนมาก
2.   เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวะการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา
3.   ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตก
4.   ปัญหาสังคมย่อมผันแปร ไปตามกาลเวลา
5.   ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมสังึมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน
6.   บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกัยย่อมมีความคิดเห็นการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกันทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยขน์แก่ตัวเองมากที่สุด


สาเหตุของปัญหาสังคมทั่วๆ ไป

จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรกฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้คล้าย ๆ กัน ซึ่งพอสรุปสาเหตุใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
·       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
·       ความไม่เป็นระเบียบของสังคม
·       พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม
·       การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามความเห็นของ Davis เขากล่าวว่า หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในการจัดระเบียบโครงสร้างหน้าที่ของสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของสังคม คือ ในกลุ่มหรือองค์การทางสังคมแต่ละกลุ่ม องค์การทาทสังคมหรือโครงสร้างของสังคมเลยนั้น คือ เปลี่ยนแปลงจากความสัมพันธ์ระหว่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงความสัมพันธ์ในกลุ่มทั้งสังคมเลยที่เดียว ดังนั้นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
1.   การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
2.   การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
3.   การเพิ่มประชากร
4.   การอพยพ
5.   การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
6.   การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
7.   การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม

ความไม่เป็นระเบียบของสังคมกับปัญหาสังคม

               ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ชึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญมี 5 ประการด้วยกันคือ
1.   ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
2.   ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
3.   หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
4.   ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
5.    ความขัดแย้งระหว่างกฏเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏบัติตาม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดของสังคมกับปัญหาสังคม

พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้เสพติดให้โทษ
การที่คนเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการด้วยกันที่สำคัญมีดังนี้
1.  ปัจจัยทางชีววิทยา(Biological Factor)
2.  ปัจจัยทางจิต(Mental factor)
3.  ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม(Environmental Factor)
4.  ปัจจัยค่านิยมทางสังคม(Social Value)
5.  ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม(social structure facdtor)
6.  การศึกษาปัญหาสังคมในการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสังคมนั้นมีวิชาการหลายแขนงที่กล่าวถึงและนักวิชาการในแขนงนั้น ๆ ได้ทำการศึกษารปัญหาสังคม ตามทัศนะของเขาดังเช่น
1. วิชาจิตวิทยา จะศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในแง่จิตวิเคราะห์เป็นสำคัญ
2. วิชามานุษยวิทยา ศึกษาปัญหาสังคมโดยการวิเคราะห์ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม
3. วิชาชีวิทยา นักชีววิทยา เห็นว่าองค์ประกอบทางชีววิทยาเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม มี 2 ประการคือ พันธุกรรม กับสิ่งแวดล้อม
4. วิชาสังคมวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาปัญหาสังคมโดยมองความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม

แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

      การศึกษาปัญหาสังคมนอกจากจะอาศัยวิทยาการหลาย ๆ สาขาแล้วเพื่อจะได้มองปัญหาสังคมหลายด้านว่ามีสาเหตุจากอะไร เพื่อจะได้นำเอาไปใช้วางแนวทางการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างถูกต้องดังกล่างแล้ว หลักสำคัญประการหนึ่งคือ วิธีในการศึกษาปัญหานั้น จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ข้อมูลนั้นเชื่อถือได้ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด
วิธีการศึกษาค้นคว้าวิธีทางวิทยาศาสตร์นั้นแยกออกเป็นขั้นตอนดังนี้
·    กำหนดปัญหาที่ต้องการพิสูจน์
·    ตั้งข้อสมมติฐานความเป็นเหตุเป็นผลของปัญหา
·    รวบรวมข้อมูล
·    วิเคราะห์ข้อมูล
·    สรุปและเสนอรายงาน

การแก้ไขปัญหาสังคม

การแก้ไขปัญหาสังคม หมายถึงการจัดการกับปัญหาสังคมเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เช่น เกิดความยากจนเกิดปัญหาความยากจนขึ้นมาแล้ว จึงดำเนินการแก้ไข ฯลฯ จึงดำเนินการแก้ไขตัวอย่าง เช่น เมื่อเกิดปัญหาว่างงานก็จะแก้โดยการสร้างงานมากขึ้น เพื่อคนจะได้มีงานทำ

ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันมีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1.   ปัญหายาเสพติด


ตาม พ... ยาเสพติดให้โทษ พ.. 2465 ให้ความหมายว่า ยาต่าง ๆ ที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นยาเสพติดให้โทษตามบัญชีที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเห็นว่าอาจทำให้ผู้เสพติดแล้วให้โทษแก่ผู้บริโภค
1 ทำให้เกิดความต้องการอย่างแรงกล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ
1.    ผู้เสพต้องตกเป็นทาสของยาเสพติดจะหยุดเสพมิได้
2.    ผู้เสพต้องเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ประเภทของยาเสพติดให้โทษ
1.  ยาเสพติดประเภทกดประสาท เสพหเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาการมึนงง สมองชา เช่น ฝิ่น มอร์ฟีนเฮโรอีน
2.  ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เสพเข้าไปแล้ว กระตุ้นประสาทให้ออกฤทธิ์ตามยาเมื่อหมดฤทธิ์ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม เช่น แอมเฟตามิน ยาบ้า ยาอี
3.   ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เสพเข้าไปกแล้วทำให้ประสาทส่วนที่รับรู้ผิดปกติไปปรากฏเป็นภาพต่างๆ ทั้งขนาดรูปร่าง เช่น แอเสดี ยาเค
4.   ยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน เสพนิดหน่อยกระตุ้นประสาท เสพมากมีอาการหลอนประสาท เช่น กัญชา
สาเหตุของการเสพยาเสพติด
1.  เกิดจากจิตใจ
2.  เกิดจากร่างกายที่เจ็บป่วย
3.  เกิดจากความคึกคะนอง อยากรู้อยากเห็น อวดดี อยากทดลอง
4.  ติดเพราะยาซึ่งมีคุณสมบัติทำให้ติด
5.  ติดเพราะสิ่งแวดล้อม อยู่ใกล้กับพวกเสพติด
6.  เกิดจากถูกชักชวน
7.  เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ผลักเยาวชนไปสู่ยาเสพติด
8.  เกิดจากการว่างงานไม่มีอะไรทำเป็นสาระก่อให้เกิดความกลัดกลุ้ม
ผลของยาเสพติดให้โทษ
1. โทษร่างกาายและจิตใจ ยาเสพติดทถกประเภทก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อร่างกายและจิตใจ
2. โทษต่อครอบครัว ทำให้เศรษฐกิจในครอบครัวตกต่ำจนถึงหายนะได้
3. โทษต่อสังคม เช่น เกิดการลักขโมย ปล้นจี้
4. โทษต่อประเทศชาติ มีผลกระทำต่อเศรษฐกิจ ถ่วงความเจริญของประเทศ
การป้องกันและการรักษา
1. การปัองกันจำแนกออกเป็น
1. การป้องกันตนเอง
2. ป้องกันทางครอบครัว
3. ป้องกันทางเพื่อนบ้าน
4.  ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ
5.  ป้องกันโดยการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทั่วไป
6.  ป้องกันการผลิต
7. การปราบปรามและการลงโทษอย่างรุนแรง แก่ผู้กระทำผิด

การรักษา คือการบำบัดรักษาาผู้เสพย์ยาเสพติดให้หายจากการเสพติด
1.  การถอนพิษยา
2.  การปรับปรุงแก้ไขจิตใจและบุคลิกภาพ
3.  การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยว
4.  การใช้ยาต้านฤทธิ์ของยาเสพติด

2. ปัญหาคอร์รัปชั่น (Corruption)

ความหมาย ตาม websters seventh New Collegiate Dictionary อธิบายคำว่า คอร์รัปชั่นไว้ดังนี้
1.  เป็นการกระทำที่ขัดต่อความซื่อสัตย์ คุณธรรมความดี หรือศีลธรรม
2.  เป็นการกระทำผิดทำนองคลองธรรม กฏเกณฑ์ หรือกฏหมาย เนื่องจากการให้สินบนหรือไม่เหมาะสม
3.  เป็นการกระทำที่ถือว่าไม่บริสุทธ์ หรือไม่เหมาะสม
ในพจนะสารานุกรมฉบับสมัยของ เปลื้อง ณ นคร กล่าวว่า คอร์รัปชั่นเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวง คดโกง ทุจริตอย่างกว้างขวาง ส่วนมากใช้ในเรื่องทุจริตและความไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่ในวงราชการ
ลักษณะของคอร์รัปชั่น มีของเขตกว้างขวางครอบคลุมการกระทำในลักษณะต่อไปนี้
1.  การแสวงหาผลประโยชน์โดยใช้อำนาจไม่ชอบธรรม
2.  การจูงใจ เรียกร้อง บังคับ ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยว หรือกลั่นแกล้งเพื่อที่จะให้มีการตอบแทนการปฏิบัติของคนอย่างตรง ๆ
3.   ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง บิดเบือนข้อบังคับหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ
4.   สมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิดเฉยการกระทำที่ผิดกฏหมาย
5.    ปลอมแปลงกรือการกระทำใดๆ อันเป็นเท็จ
6.    การเล่นพรรคเล่นพวกในวงบริหารงานบุคคล
7.    การให้สินบนแก่นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ และผู้ไปใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
8.   การเอาของหลวงรถหลวงไปใช้ส่วนตัว
9.   การรับของขวัญราคาแพง
10.  การช่วยพรรคพวกเข้าทำงานมีเงินเดือน หรือบำนาญ
11.   การเลือกที่รักมักที่ชัง
12.   การฉ้อราษฎร์บังหลวง
สาเหตุของคอร์รัปชั่น มีสาเหตุดังต่อไปนี้
1.   แรงจูงใจและโอกาส
2.  ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
3.  ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
4.   สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
5.   การบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ
6.   กฎหมายมี่ช่องว่างหรือมีข้อบกพร่อง
7.   การมีตำแหน่งเอื้ออำนวยต่อการกระทำผิด
8.   ประชาชนยินยอมพร้อมใจหรือความไม่เข้าใจของประชาชน
9.   อิทธิพลของหญิง อาจเป็นภรรยาของผู้มีตำแหน่งสูงในวงราชการ
10.  ขาดมาตราการลงโทษการคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด
ผลของการคอร์รัปชั่น มีดังนี้
1.   ทำให้ชาติเสื่อมเสียชื่อเสียง
2.   เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
3.   ก่อให้เกิดความแตกแยกและความไม่ยุติธรรมในสังคม
4.   ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาในข้าราชการ
5.  ในหมู่ข้าราชการการก็เกิดระบบทำงานแบบขอไปที
6.  การคอร์รัปชั่นก่อให้เกิดระบบผูกขาด
7.  ทรัพยากรของรัฐถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของบุคคลบางคนที่คิดเอาประโยชน์ตัวเป็นลำดับ
8.  การนำเอาไปเป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
การป้องกันและการปราบปรามคอร์รัปชั่น
1.  ออกกฏหมายเพื่อป้องกันและปรามปราม
2.  วางมาตราการป้องกัน
3.   ให้การศึกษาและพัฒนาจิตใจแก่ประชาชนและข้าราชการ
4.   ผู้นำบริหารทำตัวเป็นแบบอย่าง
5.   ประชาชนและสื่อสารมวลชนไม่เพิกเฉยต่อคอร์รัปชั่น
6.   ใช้มาตรการลงโทษอย่างรุนแรงแก่ข้าราชการและประชาชนผู้คอร์รัปชั่น
7.    ปรับปรุงระบบการเมืองให้เข้มแข็ง
8.   เพิ่มค่าครองชีพของข้าราชการ ให้สูงขึ้นพอกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน

3. ปัญหาความยากจน (Poverty)

ความยากจน คอ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และไม่สามารถจะบำบัดความต้องการทั้งทางร่างกยและจิตใจ จนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตราฐานที่สังคมวางไว้
สาเหตุของปัญหาความยากจน
·       เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในความสามารถของบุคคล
·       เนื่องจากสิ่งของและบริการต่าง ๆ มีมากขึ้น
·       เนื่องจากไม่สามารถทำงานตามปกติทั้งนี้เนื่องจากความเจ็บป่ว่ยความพิการทาางร่างกายและจิตใจ, ชราภาพ
·       เนื่องมาจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ฯลฯ
·       เนื่องมาจากการว่างงาน
·       เนื่องมาจากการมีบุตรมาก
·       เนื่องมาจากการศึกษาต่ำ ไม่สามารถพัฒนาอาชีพของตนได้
·       เนื่องมาจากความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
ผลของความยากจน
·       เป็นภาระของสังคมที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ
·       ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ
·       ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม
·       ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม
·       ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้ยากจนเองไม่สามารถจะกระทำอะไรตามที่ต้องการ
การป้องกันแก้ไขปัญหาาความยากจน
1.   การพัฒนาคุณภาพประชากรในด้านต่าง ๆ
2.   ในด้านอาาชีพควรดำเนินการเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความยากจนดังนี้
·       ยกระดับมาตราฐานความสามารถของแรงงานในอาชีพแขนงต่างๆ ให้สูงขึ้น
·       จัดหางานให้ทำและฝึกงานให้ด้วย
·       จัดตั้งหน่วยส่งเสริมอาชีพ
·       จัดโครงการพัฒนาอาชีพท้องถิ่น


4. ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์


โรคเอดส์คืออะไร เอดส์ มาจากคำว่า “AIDS” ซึ่งย่อมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในภายหลังมิได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบสายเลือดทางพันธุกรรม
Immuno หมายถึง เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม หรือการขาด Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการ ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการหลายๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง
ดังนั้น ความหมายของคำว่า AIDS หรือ เอดส์ จึงหมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากภูมิค้มกันในร่างกายเสื่อม หรือบกพร่องซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อ HIV (Human Immunode ficiency Virus) เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนแล้ว จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของคนนั้นเสื่อมหรือบกพร่องจนเป็นสาเหตุให้ร่างกายของคนนั้นอ่อนแอมีการเจ็บป่วยบ่อย รักษาไม่หายป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และในที่สุดก็จะตายด้วยโรคเรื้อรังนั้น
1. เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ชื่อ HIV หรือ Human Immunodificiency Virus
2. โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร
โรคเอดส์ติดต่อกันได้หลายทาง ที่พบบ่อยและที่สำคัญที่สุด คือ
1.   ทางการร่วมเพศ
2.   ทางการถ่ายเลือดหรือรับผลิตภัณฑ์เลือดที่มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่
3.   ทางการใช้เข็ม
4.   ทางแม่ที่มีเชื้อไวรัสเอดส์ไปสู่ทารกในครรภ์
นอกจากนี้ยังพบว่าโรคนี้ติดต่อกันได้ด้วยวิธีอื่น แต่พบน้อยมาก ได้แก่
1.    การเปลี่ยนอวัยวะต่าง ๆ เช่น เปลี่ยนแก้วตา เปลี่ยนไต
2.    การผสมเทียมในรายที่มีลูกยาก
3.    การสักผิวหนัง การฝังเข็ม การเจาะหู
4.    บุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์
       1.    กลุ่มสำส่อนทางเพศ
       2.    กลุ่มติดยาเสพติดที่ไช้เข็มและกระบอกฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำแบบเวียนเทียน
       3.   กลุ่มผู้ป่วยโรคเลือดชนิด Hemophilia
       4.   กลุ่มที่รับการถ่ายเลือด
       5.   ทารกในครรภ์
       6.   กลุ่มนักโทษที่มีการร่วมเพศกันเอง
       7.   ภรรยาหรือคู่นอนของผู้เป็นโรคเอดส์

1.  ผลกระทบจากการแพร่กระจายของโรคเอดส์
การแพร่ขยายของโรคเอดส์ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และปัจจัยการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม ปัญหาที่เกิดจากการแพร่ของโรคเอดส์ สรูปได้ดังนี้
1.   ปัญหาทางเศรษฐกิจ
2.   ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก
3.   ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ

1.  มาตราการป้องกันและแก้ไข
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
1.  ขยายบริการบำบัด รักษา และป้องกัน
2.  พัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร การแนะแนว และการประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ
3. จัดระบบการประสานงานและการบริการเพื่อการบำบัด รักษาป้องกันผู้ป่วยโรคเอดส์
ด้านการศึกษาและสังคม
1.  สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรจัดโปรแกรมการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเร่งด่วนในเรื่องโรคเอดส์
2.  ปรับทิศทางและเป้าหมายการจัดการศึกษาให้เอื้อต่อการแก้ปัญหาโรคเอดส์อย่างมีประโยชน์ ให้ความรู้และส่งเสริมบทบาทของสมาคมครูและผู้ปกครอง ครูแนะแนว และทางการศึกษาให้สามารถดำเนินงานทุกวิถีทางเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัยของสมาชิกในครอบครัวด้วย
3.   ให้มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและสังคมในระดับครอบครัวให้ดีขึ้นเพื่อลดปัญหาการติดยาเสพติดและการค้าประเวณี
4.  พัฒนาประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคเอดส์

     ด้านอื่น ๆ
1. จัดให้มีการสื่อสารสายตรง เพื่อให้คำปรึกษาและการประสานงานเพื่อการบำบัด รักษา และป้องกันโรคเอดส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.  ควรจัดให้มีมาตรการสุขภาพอนามัย และกิจกรรมที่อาจจะมีเลือดออกจากร่างกาย
3.  จัดให้มีกฏหมายสถานเริงรมย์ และสถานบริการต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจผู้เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ




อ้างอิง :มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.2547.ปัญหาสังคมไทย.[Online]. Available:URL :                             http://learning.ricr.ac.th/thailife/webunit3.htm







        คณะจัดทำ  
นางสาวนิยม   เดชน้อย  
นางสาวรัชนี   ขะทุม 
นางสาวอรวรรณ   ส่งเสริม   

  โปรแกรมสังคมศึกษา  ปี  2